วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 1

eCommerce Tracking เป็นฟังก์ชั่นหนึ่งที่อยู่บน Google Analytics 4 ทำให้เราสามารถตรวจสอบยอดขาย (Transaction, Purchaase) ได้ในแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตามเราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อให้ระบบของ Google Analytics 4 สามารถที่จะรายงานผลได้ และเรายังสามารถที่จะติดตั้งระบบนี้ได้ทั้งบนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันที่เป็นอีคอมเมิร์ช ด้วยการใช้เทมเพลตที่เหมือนกัน แต่ฝั่งแอพพลิเคชัน อาจจะยากเสียสักหน่อยเพราะต้องเขียนให้ตรงกับภาษาของแอพนั้นๆ ดังนั้นในวันนี้ Digi Era ถึงถือโอกาสที่ไม่ได้อัปเดทเว็บมากว่าครึ่งปี จะมาสอนว่าในการติดตั้งระบบนี้ต้องทำอย่างไรแบบไม่ใช้ CMS (Content Management System)

เรื่องที่คุณควรจะรู้ก่อนที่จะเริ่มติดตั้ง eCommerce Tracking GA4

ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือในการติดตั้ง eCommerce Tracking บน GA4 ผมขอให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจระบบเบื้องต้นก่อนว่า เราควรที่จะรู้อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้สามารถติดตั้งได้ อย่างคล่องมือและสามารถนำไปทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเรื่องที่เราควรรู้นั้นมีอะไรบ้างนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ผมได้ลิสต์มาให้ด้านล่างนี้ครับ

eCommerce Event Structure

แรกเริ่มเลยก็จะเป็นในเรื่องของ Google analytics 4 ได้เปลี่ยนโครงสร้าง eCommerce Event ใหม่ทั้งหมด เรียกได้ว่ายกชุด และเราคนทำอีเว้นท์ก็จำเป็นที่จะต้องทำตาม Structure นี้เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้น ก็อาจจะไม่เห็นรีพอร์ทใน GA4 ก็เป็นไปได้ โดยอีเว้นท์ต่างๆ นั้นก็จะประกอบไปด้วย

  • view_promostion
  • view_item_list
  • view_item
  • view_cart
  • select_promotion
  • select_item
  • add_to_cart
  • add_to_wishlist
  • remove_from_cart
  • begin_checkout
  • add_shipping_info
  • add_payment_info
  • purchase
  • refund

ทั้งหมดล้วนเป็น Recommended Event ที่ทาง Google Analytics 4 ได้กำหนดมาเอาไว้หมดแล้ว และเราจะไม่สามารถสร้างใหม่ หรือตั้งชื่อได้ตามที่ใจเราต้องการ รวมทั้งถ้าตั้งชื่อเป็นแบบอื่นก็อาจจะทำให้ไม่สามารถดูค่ารีพอร์ทได้บน GA4 ซึ่งในแต่ละอีเว้นท์ก็จะให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการที่จะวัดผลอะไรบ้าง ด้วยอีเว้นท์อะไรบ้าง โดยผมได้จัดเรียกอีเว้นท์เอาไว้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน ประกอบไปด้วย

กลุ่มของ Impressions events ที่จะทำหน้าที่รายงานผลว่าสินค้าของคุณนั้น ถูกแสดงไปแล้วเป็นจำนวนกี่ครั้ง เท่าไหร่ โดยจะแสดงแบบไม่ ‘Unique’ คือขึ้น 10 ครั้งก็สามารถจะนับรวมทั้ง 10 ครั้งนั่นเอง อีเว้นท์เหล่านี้ก็จะเป็นตระกูล ‘View’ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Promotions, items lists, items หรือ Cart เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ‘view_item_list’ อีเว้นท์นี้จะทำหน้าที่บอกว่า Users เห็นสินค้าใน Category ไหนบ้างบนเว็บไซต์ของเรา หรือ ‘view_promotion’ ก็จะถูกเอาไว้เปรียบเทียบว่าโปรโมชันของคุณที่อยู่บนเว็บ ณ เวลานั้นๆ มีคนสนใจบ้างหรือไม่ ซึ่งทั้งสองจะมีให้เห็นเป็นตัวเลขรีพอร์ทอยู่บน Google Analytics 4

กลุ่มของ Actions events ซึ่งจะทำหน้าที่วัดผลเมื่อเกิดแอคชันนั้นๆ จะต่างจากตระกูล ‘Views’ ที่มีสินค้าแสดงระบบอีเว้นท์ก็จะนับให้เราแล้ว อาทิเช่น add_to_cart ที่เอาไว้วัดผลว่าสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้ถูกจับใส่ตะกล้าไปแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่ หรืออาจจะเป็น begin_checkout ที่จะใช้ในการวัดผลแบบง่ายๆ ว่า ลูกค้าพร้อมที่จะดำเนินการจ่ายเงินแล้วนะ โดยทั้งสองอีเว้นท์จะทำงานก็ต่อเมื่อเกิดแอคชันนั้นจริงๆ เท่านั้น นั่นก้คือ ยูเซอร์จะต้องคลิกกดตะกล้าเพื่อเอาสินค้าลงไปจริงๆ

เรื่องของ Data Layers สำคัญไม่แพ้กัน

อย่างไรก็ตามไม่ใช่เพียงแค่ การตั้งชื่ออีเว้นท์ตามที่ Recommended Events ของ Google แล้วระบบจะสามารถ Tracking ในเรื่องของ eCommerce ได้ในทันที หากแต่ว่าเราจำเป็นที่จะต้องบอกด้วยว่าสินค้าที่นำมาแสดง หรือถูกกดใส่ตะกล้านั้นเป็นสินค้าอะไร โดยสิ่งเราเหล่านี้ใน GA4 เราจะเรียกว่า ‘Data layer’ ซึ่งเราจะต้องให้ทาง Developer ช่วยในการจัดการด้านนี้ให้ทั้งหมด โดยสิ่งที่เรียกว่า ‘Data Layer’ จำเป็นที่จะต้องถูกกำหนดมาให้พร้อมๆ กับ Recommended Event ในข้อแรก โดย Data Layer ที่ว่านั้นจะประกอบไปด้วย

ParameterDescription
item_idส่วนมากจะใช้สำหรับระบุถึงตัวเลขของ SKU เป็นหลัก
iten_nameเอาไว้ระบุถึงชื่อของสินค้านั้นๆ
affliationไม่จำเป็นต้องใส่ แต่โดยส่วนมากจะใส่เป็นชื่อแบรนด์ตัวเองเช่น ‘Digiera’
couponเอาไว้สำหรับกรณีที่มีการใช้ coupon code เพื่อลดราคา
discountราคาสินค้าที่ถูกลด
indexตำแหน่งของสินค้านั้นๆ
item_brandชื่อแบรนด์ของสินค้านั้นๆ ถ้าเป็น marketplace ก็จะเป็นแบรนด์ต่างๆ เช่น ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ก็จะใส่เป็น lenovo, hp เป็นต้น
item_category [1 – 5]รายละเอียดของ category จะทำหน้าที่บอกว่าสินค้านั้นอยู่ในหมวดใด สามารถใส่แยกย่อยได้ 5 หมวดย่อย
item_list_id / item_list_nameโดยส่วนมากจะใช้ระบุว่าสินค้าที่ถูกคลิกเข้ามา เข้ามาจากส่วนใดของเว็บไซต์เราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
item_variant ใช้ในกรณีที่เป็น ‘Add_To_carts’ อีเว้นท์เอาไว้ระบุว่าสินค้า A ที่ถูกกดใส่ตะกล้าเข้ามานั้น เขาได้เลือกแอดสินค้าย่อยอะไรเข้ามา เช่น ถ้าเป็นเสื้อ item_variant จะช้ระบุในส่วนของสีเสื้อ หรือขนาดของไซส์เสื้อนั่นเอง
priceราคาสินค้า
quantityอันนี้จะใช้สำหรับ ‘add_to_carts’ เช่นเดียวกันเพื่อเอาไว้ดูว่าสินค้าที่ว่าถูกหยิบใส่ตะกล้ามาแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่

ทั้งหมดจาก ‘Data Layer’ ด้านบน จะถูกเรียกรวมกันว่า ‘item list’ เมื่อมาอยู่รวมกับ eCommerce events แต่ยังคงต้องมีอีเว้นท์อื่นๆ อีกที่จำเป็นจะต้องระบุเพิ่มเติมเพื่อทำให้สามารถรายงานผลได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจาก ‘item list’ อันประกอบไปด้วย

ParameterDescription
Currencyเอาไว้กำหนดใน Reports ว่าจะให้รีพอร์ทออกมาเป็น เงินสกุลใด ถ้าใช้ THB ใน GA4 ก็จะเป็นไทยบาท นั่นเอง
Valueมักจะใช้เกือบทุกกรณีไม่ว่าจะเป็น view_items, add_to_cart หรือ purchase event ซึ่งมันจะทำหน้าที่เป็นการรวบรวมทั้งหมดว่าในยอดคำสั่งซื้อนั้นเป็นยอดเท่าไหร่ สมมติเราสั่งซื้อสินค้า 2 ชิ้น ด้วยชิ้นละ 100 และ 900 บาท ในส่วนของ Value ก็จะเท่ากับ 1,000 บาท นั่นเอง

ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้อ่านและเข้าใจวิธีการ ‘Tracking eCommerce’ มากขึ้น อยากให้ลองดูตัวอย่างของ การติดตั้งจากภาพด้านล่าง ซึ่งผมไปนำมาจาก Example Data ของ Google อีกทอดหนึ่ง เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ว่าอีเว้นท์ที่ควรจะใช้ จะต้องทำอย่างไร

รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า ‘Custom Events’

Custom Events เป็น Trigger หนึ่งที่อยู่บน Google Tag Manager เรามักจะใช้เมื่อเราต้องการที่จะ Track อะไรก็ตามที่นอกเหนือจาก ‘Pageviews’ หรือ ‘Click’ อย่างเช่น eCommerce Events จะถือได้ว่าเป็น ‘Custom Event’ ในรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ ทาง Developer จะต้องเตรียมอีเว้นท์เหล่านี้เอาไว้ก่อน แล้วเราค่อยเซ็ตต่อบน GTM อีกรอบหนึ่ง โดยเลือกใช้ ‘Trigger’ เป็น ‘Custom Event’ นั่นเอง อาจจะเข้าใจยากไปสักเล็กน้อยให้ดูภาพด้านล่างครับ

วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 3
ภาพจาก https://wc.wpproject.co/

ภาพตัวอย่างมาจากเว็บไซต์ของเพื่อนผมเอง เป็น Demo Shopping Site เว็บหนึ่งที่ขายต้นไม้ จากอีเว้นท์ในรูปเราเรียกว่า ‘View item list’ ในอีเว้นท์นี้ก็จะมาพร้อมกับ ‘Data Layer’ ชุดหนึ่งที่เป็น eCommerce data โดยจะเป็นรวบรวม Parameter และ Value ต่างๆ จากข้อสอง ซึ่งถ้าระบบสามารถเก็บ Data ได้แบบด้านบน ก็จะสามารถรายงานผลได้แบบภาพด้านล่าง ที่เราจะสามารถดูได้ว่ามี Item List ไหนดูได้บ้าง

วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 5
ภาพจาก GA4 – Demo analytics accounts

อย่างไรก็ตามแม้ว่า Developer จะสามารถสร้าง Events มาได้แล้ว เราจะยังไม่เห็นเป็น Reports จนกว่าจะไป Setting อีกรอบบน GTM โดยจะต้องจัดเรียงอีเว้นท์ต่างๆ ตามที่ Google ได้นำเสนอมาครับ นั่นก็คือการสร้างอีเว้นท์ให้ตรงกับที่ Google ต้องการนั่นเอง เมื่อเตรียมดาต้าเรียบร้อย ก็มาดูกันว่าบน GTM เราควรที่จะสร้างอีเว้นท์อย่างไร

วิธีตั้งค่า eCommerce Events แบบ Step by Step

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตั้งค่า eCommerce Events เราควรที่จะติดตั้ง Google Analytics 4 ก่อนเสมอ เพราะไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่เห็นดาต้านั่นเอง และวิธีนี้จะเป็นการตั้งค่าบน Google Tag Manager แนะนำให้ ติดตั้ง GA4 บน GTM ก่อนนะครับ สำหรับเว็บไซต์ใด ที่ติดแบบ Gtags อาจจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ผล งั้นมาดูกันเลยว่าก่อนเราจะสามารถติดตั้ง Event นี้อย่างไรได้บ้าง

สร้าง ‘Trigger Custom Events’ บน GTM

วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 7
วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร 1

ก่อนที่เราจะสร้าง Event ของ GA4 เรามาสร้าง Trigger Custom กันก่อนว่าเราควรที่จะสร้างอย่างไร ให้ไปที่ Google Tag Manager ครับ หลังจากนั้นให้เลือกไปที่ ‘Trigger’ แล้วต่อด้วย ‘Custom Event’ ระบบจะให้เราเลือกใส่ชื่ออีเว้นท์ลงไป ในที่นี้ให้ใส่ชื่ออีเว้นท์ในข้อด้านบนลงไปครับผม โดยจะต้องใส่ให้ตรงกับที่ทาง Developer ได้ใส่มาให้ในเบื้องต้น ถ้าเราต้องการที่จะติดตั้ง Tags ให้กับ view_items_list ให้ใส่ไปเลยครับเป็น view_items_list โดยจะต้องใส่ให้เหมือนกัน ดูภาพด้านล่าง แล้วสร้างบนจนครบในทุกอีเว้นท์ที่เราต้องการ

สร้าง Data Layer Variable เพื่อเก็บข้อมูล

ในทุก Events จะมาพร้อมกับ ‘Data Layer’ เสมอ แต่เมื่อมาเซ็ตติ้งใน GTM เราจะเรียกว่า ‘Data Layer Variable หรือ DLV โดยหน้าที่ของมันจะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้ Reports ของเรานั้น สามารถอ่านค่าได้ว่ามีสินค้าไหนที่ถูกกดใส่ตะกล้าบ้าง หรือสินค้าไหนที่ถูกดูไปแล้วบ้างนั่นเอง แต่ในการกำหนด Data Layer อาจจะต้องเข้าใจในส่วนของ Structure สักเล็กน้อยเพื่อให้สามารถเข้าถึง Data ได้

วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 9
วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร 2

จากภาพด้านบนเราจะเรียกว่า Json ที่มี Array ซ้อนอยู่ด้านใน อาจจะฟัง Technical หน่อย แต่นี้เป็นโครงสร้างของ Data Layer สมมติว่าเราต้องการเข้าถึง Data ที่เรียกว่า items ที่จะเป็น array ที่เก็บข้อมูลสินค้าอีกทอดหนึ่งนั้น จะสังเกตว่าตัว items จะอยู่ภายใต้ ecommerce ดังนั้นในการเข้าถึงส่วนของ items ได้ เราจะต้องให้มันเข้าถึง ecommerce data ก่อนเสมอ ในการกำหนด data layer จึงใช้เป็น ecommerce.items เพื่อระบุให้ระบบเข้าใจว่าเราต้องการที่จะเข้าถึงในส่วนของรายละเอียดสินค้า เข้าใจไหมหว่า?

Views Items List สร้างอย่างไร?

เมื่อเราสร้างทั้งสองอย่างเป็นที่เรียบร้อย เราก็จะสามารถสร้างอีเว้นท์ได้แล้ว โดยเราจะไปย้อนกลับไปที่ ‘Tags’ แล้วให้เลือกเป็น Google Analytics: GA4 Event ซึ่งเมื่อเลือกแล้ว จะสังเกตได้ว่าระบบจะให้เราใส่เป็นชื่ออีเว้นท์ โดยเราไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง Category, Actions และ Label อีกต่อไป และในเมื่อเราต้องการสร้าง Events ว่า ‘view_items_list’ ดังนั้นในชื่อของอีเว้นท์ก็ตั้งให้มันตรงกับที่ Google เสนอมาให้เลยครับ เหมือนภาพด้านล่าง

วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร digi era ภาพที่ 11
วิธีติดตั้ง eCommerce Tracking สำหรับ GA4 ควรทำอย่างไร 3

ถ้าเราใส่เพียงแค่ Event Name ใน Report เราก็จะเห็นเพียงแค่ชื่อเท่านั้น จะไม่สามารถดูรายละเอียดสินค้าได้ ดังนั้นให้เลือกที่ Event Parameter ครับ โดยระบบจะแบ่งออกเป็นสองฝั่งด้วยกัน ฝั่งเรียกเราจะเรียกว่า ‘Parameter’ ซึ่งจะเป็นค่า Static ที่จะเปลี่ยนไม่ได้ ส่วนด้านขวาจะเป็น Value โดยมากจะเป็น Dynamics กล่าวคือมันจะเปลี่ยนไปตามรายละเอียดสินค้านั่นเอง ในตรงนี้เราจะใส่สิ่งที่เรียกว่า Data layer variable นั่นเองครับ ใส่เครื่องหมาย “{{” ก่อนเสมอ

สุดท้ายเมื่อเราต้องการที่จะให้มันใช้งานอีเว้นท์ view_items_list เราก็เพียงเลือก ‘Trigger’ ที่เราสร้างมาตั้งแต่ตอนแรกครับ ว่าเป็น ‘view_items_list’ เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถ tracking ได้แล้วว่ามีคนดูสินค้าของเราเป็นจำนวนครั้งเท่าใด ในรีพอร์ทก็จะเห็นเราเห็นว่า ‘Items’ นี้ถูกดูไปแล้วเป็นจำนวนกี่ครั้งนั่นเอง โดยเราสามารถวนสร้างแบบเดียวได้กับทุกอีเว้นท์ที่เรียกว่า ‘View’ ครับ ไม่ว่าจะเป็น view_items_list, view_items หรือ view_carts เพราะทั้งหมดล้วนเป็น ‘Impression Events’

Add To Carts สร้างอย่างไร?

สำหรับ add_to_cart หรือ begin_checkout ล้วนตั้งค่าไม่ต่างจาก view_item_list สักเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าตัว ‘custom_event’ ในการได้มาซึ่งที่เป็น ‘Action Events’ นั้น อาจจะต้องให้ทาง Developer เป็นคนช่วยเหลือ เนื่องจากว่า add_to_cart จะทำงานเมื่อคนคลิกปุ่มกดลงใส่ตะกล้าเพียงเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสร้าง impression event ได้ ดังนั้น และในการคลิกนั้น จะต้องมาพร้อมกับชื่อของ events และ data layer พร้อมๆ กัน ในฟังก์ชั่นนี้ เราจึงไม่ได้เลือกใช้ ‘clicks trigger’ เพราะเราจะต้องให้ทาง developer กำหนดให้เราว่า เมื่อมีคนคลิกปุ่มดังกล่าวแล้ว ให้แสดงค่าอะไรออกมาบ้าง แล้วเราก็นำค่านั้นไปใช้ต่อบน Google Tag Manager อีกทอดหนึ่งแบบ view_item_list นั่นเอง

ผมอาจจะบอกไม่ครบในทุก Events แต่ว่าลักษณะการติดตั้งนั้นเหมือนกันก็คือ เราต้องกำหนดในส่วนของ ‘Trigger’ ก่อนเสมอ เพื่อเอาไว้เป็นตัวกำหนดว่าอีเว้นท์ที่เราจะติดตั้ง มีอะไรบ้าง และอีเว้นท์นี้จะถูกนำไปใช้งานอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเราอาจจะจำเป็นต้องคุยกับทาง ‘Developer’ ให้เข้าใจเพื่่อให้เค้าสามารถสร้างอีเว้นท์ออกมาได้ตามแบบที่เราต้องการ หากแต่ว่ามันจะง่ายกว่านี้ถ้าเราเลือกใช้ Content Management system ไม่ว่าจะเป็น Woocommerce, Magento หรือ Shopify เพราะระบบจะมี Plugin ที่จะทำให้เรื่องพวกนี้นั้นหมดไป สำหรับใครใช้ CMS ลองไปศึกษาเรื่องนี้ได้ที่คอนเทนส์ก่อนหน้านี้ อย่าง การติดตั้ง ecommerce events บน wordpress ครับ

ถ้าเขียนต่อในบทความนี้อาจจะยาวจนเกินไป ใน Series หน้าผมจะมาสอนวิธีการดู Reports ในส่วนของ eCommerce กันว่าใน Google Analytics 4 มีรีพอร์ทที่เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ชอะไรบ้างที่น่าสนใจ และทำไมเว็บอีคอมเมิร์ชหลายๆ เว็บมักจะต้องติดตั้งฟังก์ชั่นนี้กัน

#มีของก็ต้องขาย: สำหรับพ่อแม่พี่น้องที่ต้องการจะติดตั้งอีเว้นท์แบบต่างๆ ไม่ว่าจะยาก จะง่าย ลองมาคุยกันได้ครับโทรมาเลยที่ 0836433743 หรือแอดไลน์มาได้เลยผ่านเบอร์เดียวกัน

ข้อมูลบางส่วนได้มาจาก

Apiwat Chaleamjit (X)

Apiwat Chaleamjit (X)

เดินสายอยู่บนเส้นทาง Digital Marketing มานานกว่า 10 ปี โดยได้ดูแลแคมเปญให้กับธุรกิจขนาดเล็ก SME ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่เป็น Corporate โดยมีความถนัดกับทุกด้านตั้งแต่ ธุรกิจด้านการเงินทุกชนิด, การประกันภัย, การศึกษา, อีคอมเมิร์ช และอื่นๆ อีกมากมาย โดยจุดมุ่งหมายเดียวในการทำแคมเปญของผม มักจะเน้นที่เพิ่มยอดขาย เพิ่มการรับรู้ของแบรนด์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.