Digi Era ได้เขียนบทความหนึ่งเอาไว้ว่า SEM (Search Engine Marketing) คืออะไร แต่ยังไม่ได้บอกอธิบายรายละเอียดของ วิธีการใช้งาน Dynamic Search Ads เอาไว้ วันนี้ผมเลยจะมาอธิบายให้ลองนำกลับไปปรับใช้กันดูครับ
เลือกอ่านเฉพาะบางหัวข้อที่คุณต้องการ
Dynamic Search Ads คืออะไร?
Dynamic Search Ads หรือ DSA คือ ฟังก์ชั่นหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในแคมเปญประเภท Search ใครก็สามารถที่จะเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้ ขอเพียงแค่ว่าคุณจะต้องมั่นใจว่าระบบเว็บไซต์มีกรจัดการที่ดีพอโดยในเว็บจะต้องมี Meta Title ที่ตรงตามหลักของ SEO เพราะระบบ Dynamic Search Ads จะอ้างอิงจากผลการค้นหาแบบ Organic ค่อนข้างเยอะ ถ้าเรามีการเขียน Title ของเว็บไม่ดี อาจจะทำให้คำโฆษณาของคุณไม่มีความน่าสนใจ
อย่างไรก็ตาม Dynamic Search Ads มักจะมีประโยชน์กับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสินค้าที่ค่อนข้างเยอะ อย่างเช่น Lazada, Shopee, JD Central ที่มีสินค้าหลายพัน หรือหมื่นชิ้นบนเว็บไซต์ ขณะเดียวกันระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ประเภทที่ต้องการเจาะจงหา Leads (คนลงทะเบียน) เช่น เว็บเปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์, สินค้าการเงินแบบต่างๆ เป็นต้น เพราะสินค้าค่อนข้างจะมีจำกัด และจะมีการค้นหาที่แคบกว่าจึงไม่น่าจะคุ้มเมื่อต้องการทำแบบ DSA
ประโยชน์ของการใช้ Dynamic Search Ads
- ไม่ต้องหาคีย์เวิร์ดให้เสียเวลา – ระบบจะจัดการคัดสรรคีย์เวิร์ดมาให้คุณได้เอง โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาหาคีย์เวิร์ด
- ระบบที่สร้างคำโฆษณาแบบอัตโนมัติ – ระบบนี้จะสร้าง Headline 1, Headline 2 ด้วยตัวเอง ซึ่งมักจะมาจาก Title ของเว็บไซต์ ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่า Title ของหน้านั้นๆ มีการ Optimize ที่จะสามารถทำให้คนคลิกเข้ามายังในเว็บได้ แต่สำหรับ Description เรายังต้องใส่ด้วยตัวเอง
ข้อเสียของ Dynamic Search Ads
- ถ้าเว็บไซต์ของคุณมี Meta Title ที่ไม่ได้ส่งผลต่อ SEO เท่าไหร่นัก ก็อาจจะทำให้ Headline 1, 2 หรือ 3 ที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้นจงมั่นใจว่าเว็บของคุณมี Title ที่ดี ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ คะแนนคุณภาพ (Quality Score) ของแคมเปญคุณนั้นต่ำก็ได้
- ระบบจะค้นหาคีย์เวิร์ดให้คุณเอง แต่โดยส่วนมากมันก็จะมาพร้อมกับคีย์เวิร์ดที่เราต้องการและไม่ต้องการ คุณก็จะต้องมั่นจัดการ Negative อยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้มีคีย์เวิร์ดที่คุณไม่ต้องการหลุดเข้ามาเยอะจนเกินไป จนทำให้เราต้องเสียค่าคลิกโดยเปล่าประโยชน์
- คุณต้อง Negative URL คือเราจะต้องจัดการไม่ให้ระบบนำเว็บไซต์ของคุณออกไปใช้มากจนเกินไป เช่น เว็บที่พูดถึงเกี่ยวกับคุณ, หน้าเกี่ยวกับ Policy เป็นต้น เราต้องทำการ Negative หน้าเหล่านี้เอาไว้ เพราะเราต้องการที่จะขายสินค้า
- ถ้าเว็บของคุณไม่ได้มีอันดับ SEO ที่ดีพอ ก็อาจจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะระบบนี้จะอ้างอิงจาก Organic Result ค่อนข้างมาก
เริ่มต้นสร้าง Dynamic Search Ads แคมเปญ
เริ่มต้นกันที่เราต้องเลือก Objective ของแคมเปญกันเสียก่อน โดยให้เราคลิกเลือก New Campaign แล้วเลือกเป็น Sale หลังจากนั้นให้เลือกเป็น Search Campaign เพราะว่า DSA อยู่ร่วมกับ SEM
ให้เลือกเป็น Sales หรือ Without a goal guidance แล้วเลือก Continues
หลังจากนั้นให้เลือกเป็น Search Campaign เพราะต้องการใช้ DSA เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยระบบจะให้เราไปตั้งค่าหน้า Ad Group Setting ซึ่งตรงนี้จะเหมือนกับการสร้าง SEM ทั่วๆ ไป ดังนั้นให้ลองทำตามบทความก่อนหน้านี้ก็ได้ SEM คืออะไร แต่มีจุดหนึ่งที่คุณต้องเลือกก่อนที่จะกดให้มัน Continues ไปหน้าถัดไป
ตรงนี้คุณต้องใส่ Domain เว็บไซต์ของคุณ เพื่อกำหนดให้ทางระบบของ Google รู้ว่าจะเอาข้อมูลของเว็บไซต์ไหน หลังจากนั้นให้เลือกเป็นภาษาไทย หรือภาษาใดก็ได้ที่คุณต้องการจะทาร์เก็ต
ตรงนี้เราไม่จำเป็นต้องใส่ Keyword ใดๆ ทั้งสิ้นให้เลือกเป็น Dynamic Search Ads แทน เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เพียงแค่กด Continues ระบบก็จะให้คุณไปหน้าที่สร้างคำโฆษณา ตามภาพด้านล่าง
เมื่อสร้างเป็น Dynamic Search Ads เราไม่จำเป็นต้องเขียน headline 1 – 3 เอง เพราะระบบจะสร้างให้อัตโนมัติ หากแต่ว่าเรายังคงต้องสร้าง Description อยู่ ให้เราเขียน description ตามที่เราต้องการได้เลย โดยความยาวต้องไม่เกิน 90 ตัวอักษร เมื่อคลิก Save New Ads มันก็จะเท่ากับว่าเราสร้างแคมเปญ DSA ได้แล้วฃ
Dynamic Search Ads จะทำให้คุณบริหารจัดการแคมเปญได้ง่ายก็จริง แบบที่ไม่ต้องมาหาคีย์เวิร์ดเอง หรือคำโฆษณาเองก็จริง หากแต่ว่าอาจจะทำให้การจัดการในภายหลังค่อนข้างยากพอสมควร เพราะบางครั้งระบบจะแสดงผลในหน้าที่เราไม่ต้องการ หรือได้คีย์เวิร์ดที่ไม่น่าจะทาร์เก็ตได้ เช่น สินค้าที่ไม่ได้ขาย แต่ยังไม่ได้เอาออกจากเว็บ, หน้าเว็บไซต์ที่พังอย่าง 404, หน้าเกี่ยวกับเรา, นโยบายความเป็นส่วนตัว เป็นต้น ดังนั้นให้เรามั่น Negative URL ที่เราไม่ต้องการด้วยเสมอ เพื่อที่จะกำจัดหน้าเหล่านั้นทิ้งเสียเพราะเราต้องการที่จะขายของ และเรายังคงต้องทำ Negative Keywords เป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบค้นหาคีย์เวิร์ดที่ไม่ตรงกับสินค้าของเรา จนทำให้ค่าคลิกต้องถูกเบิร์นไปมากจนเกินไป