Bounce Rate คือ Metric หลักที่หลายๆ ธุรกิจมักจะใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าบทความนั้นๆ ดีจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อการเข้ามาของ Google Analytics 4 ที่บอกว่าจะไม่เน้นให้มุ่งไปที่ Bounce Rate มากจนเกินไป แต่เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2022 ทาง Google ได้ประกาศว่าจะนำค่านี้กลับมาอีกครั้ง แต่จะไม่ใช่วิธีการคำนวณแบบเดิม ดังนั้นในวันนี้ Digi Era จึงจะได้มาอัปเดทให้หลายๆ ท่านได้ทราบกัน
เลือกอ่านเฉพาะบางหัวข้อที่คุณต้องการ
Bounce Rate คืออะไร และต่างกันอย่างไร
Bounce Rate คือ เริ่มต้นกันที่ความเข้าใจพื้นฐานกันก่อนที่คนจะเข้าใจกันว่ามันคือการที่ Users เข้ามาภายในเว็บไซต์ของคุณ แล้วออกในทันที ทางระบบมันจึงเรียกว่าพฤติกรรมนี้ว่า “Bounce” นี่เป็นแบบแรก อย่างไรก็ตามถ้าเรามองให้ลึกไปกว่านั้นคงมีไม่มากที่คนจะเข้ามาแล้วก็ออกในทันที ถ้าเว็บของคุณไม่ห่วยจริงๆ หรือในกรณีที่ 2 ที่เมื่อ Users เข้ามาในเว็บไซต์ อาทิเช่น digi-era.co แล้วได้เริ่มอ่านบทความนี้ อาจจะจบหรือไม่จบ หรืออาจจะทำความเข้าใจมากกว่า 30 นาที แล้วออกจากหน้านี้เมื่ออ่านจบ Google Analytics (UA) จะนับว่าเป็น Bounce Sessions ในทันที
ขณะเดียวกันเมื่อพูดถึง Google Analytics 4 สำหรับ Bounce Rate นั้นอาจจะไม่ค่อยถูกเอ่ยถึงสักเท่าไหร่ เพราะหลายๆ เว็บไซต์หันไปใช้ Engagement Rate กันแทบทั้งหมด ซึ่งเป็นค่าที่มาจาก Engaged Sessions / Total Sessions ก็จะเป็น Engagement Rate ซึ่งทั้งสองค่านี้ก็เป็น metric ใหม่ที่ทาง GA4 เริ่มใช้มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยที่ Engaged Sessions จะนับเมื่อเราอยู่ใ่หน้านั้นมากกว่า 10 วินาที เป็นต้นไป หรือมีเปิดหน้าใหม่ขึ้นมาสองหน้า รวมไปจนถึงการเกิด Conversion Events ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนเข้าเว็บไซต์นี้จำนวน 10,000 คน และเป็น Engage Sessions ที่ 7,000 คน ก็จะเท่ากับว่ามีเรามี Engagement Rate ที่ 70%
ในเมื่อ Engagement Rate ของเราอยู่ที่ 70% ทำให้ Bounce Rate จึงเป็นค่าตรงข้ามในทันที จากโจทย์ในข้างต้นทำให้เว็บไซต์ของเราจะมีจำนวน Users ที่ออกจากเว็บไซต์ไป 3,000 คน หรือ 30% นั่นเอง จากการคำนวณแบบนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่าจำนวนคนที่ออกจากเว็บไซต์ของเรานั้นใกล้เคียงกว่าแบบแรก อย่างไรก็ตามหลายๆ เว็บไซต์อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งค่า Engaged Sessions ไว้ที่ 10 วินาที ก็ได้ เพราะอาจจะมองว่ามันน้อยเกินความเป็นจริง ซึ่งเราจะสามารถแก้ไขได้ตามใจที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะเป็น 30 วินาที หรือมากกว่านั้น เพื่อให้มันสมดุลมากยิ่งขึ้น
Exit Rate ยังคงเหมือนเดิม แต่จะต้องดูใน Exporation Report แทน
ถ้า Bounce Rate มันค่าตรงข้ามของ Engagement Rate ที่สามารถคำนวณได้เองตามสูตรด้านบน อีกค่าหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะไมค่อยได้ความสนใจสักเท่าไหร่ นั่นก็คือ ‘Exit Rate’ ซึ่งจะเป็นค่าหนึ่งที่จะบอกว่า Users เข้าหน้าไหน เป็นหน้าสุดท้ายก่อนที่จะออกจากหน้านั้นไป อาทิเช่น นาย A เข้ามาที่หน้า Home Page แล้วไปต่อที่หน้า Product Details ก่อนที่จะออกไปในที่สุด ในหน้า Product Details ก็จะถือว่าเป็นหน้าสุดท้ายที่ นาย A ได้ออกจากหน้านั้นไป
สำหรับ Universal Analytics เราสามารถที่จะเห็นเมทริกนี้ได้ทันทีบน Standard Reports แต่สำหรับ GA4 นั้นเราจะต้องไปที่ Exporation Reports เพื่อที่จะสร้างแดชบอร์ดขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตามสำหรับ Exporation Report เราจะต้องเลือกวันเวลาให้ถูก เพราะมันจะเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากมาจาก Data Retention Setting ซึ่งถ้าหากเซ็ตไว้ที่ 2 เดือน เราก็จะสามารถดูได้เพียง 2 เดือนล่าสุดเท่านั้น ซึ่งเวอร์ชั่นปกติจะเลือกได้แค่ 2 และ 14 เดือนเท่านั้น
สรุป
Bounce Rate ใน GA4 เป็นเมทริกค่อนข้างตรงกับความหมายถึงของมัน เนื่องจากว่าเราจะสามารถใช้วัดได้ว่าเป็นจำนวนของ Users ที่ได้ออกจากเว็บไซต์นั้นจริงๆ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถนำไปพัฒนาเว็บตัวเองได้ต่อ เพื่อที่จะวัดผลว่าจะสามารถลดจำนวน Bounce ให้น้อยลง ไม่เหมือนของเดิมที่ถ้ายิ่งมีจำนวน Bounce น้อยจนเกินไปนั้น จะเป็นสัญญาณที่บอกกับเราว่า การติดตั้งของเรานั้น ผิดไปจากเดิม